Microphone Specification...เลือกดีๆ ไม่มีขาดทุน !




        ไมโครโฟนมีเป็นร้อยๆยี่ห้อ มีเป็นพันๆรุ่น ราคาก็หลากหลาย การจะเลือกไมโครโฟนสักตัวมาใช้ให้เหมาะกับงานและงบก็เป็นเรื่องที่คิดหนักพอสมควร แน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการได้ลองใช้มัน ลองฟังเสียงของมัน แต่…ในเมื่อมันมีเป็นร้อยๆพันๆตัว เราจะเลือกตัวไหนล่ะ? วิธีการที่เราจะคัดสัก 4-5 ตัวที่ตรงใจเรามา แล้วลองใช้มันหรือลองฟังเสียงของมันในขึ้นตอนสุดท้าย ก็คือ การอ่านสเป็คของมัน นั่นเอง 

Directional Characteristic ทิศทางไหน...ไมค์รู้ได้ไง??

 
  หลังจากที่รู้จักกับไมค์ประเภทต่างๆที่แบ่งตามหลักการทำงานของมันแล้ว วันนี้ผมจะพูดถึงการแบ่งประเภทของไมค์โดยทิศทางการรับเสียงของมันนะครับ

   





  Directional Characteristics หรือ มักจะพบในชื่อ Polar Pattern หมายถึงความสามารถในการรับเสียงของไมค์จากทิศทางต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้และเข้าใจเพื่อที่จะวางไมค์ในตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะของมัน เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด


Introduction to Signal Flow

 
       "Signal Flow" เป็นคำศัพท์ที่คนจะเป็น Sound Engineer ต้องรู้เป็นอย่างดี คำว่า Signal Flow หมายถึงเส้นทางการเดินทางของสัญญาณในวงจรใดๆก็ตามผ่านอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น Signal Flow ของ Mixing Console , Signal Flow ของ Synthesizer

         พูดแบบนี้ อาจจะไกลตัวไปนิดนึง เราลองมาพูดถึงอะไรที่ใกล้ตัวและเข้าใจง่ายๆ กันดีกว่า สมมติว่า คุณอยากจะดูซี่รี่ย์เกาหลี คุณจึงไปซื้อดีวีดีเรื่องที่อยากดูมา เพื่อมาเปิดในเครื่องเล่นดีวีดีที่บ้านคุณ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เปิดทีวี...(ไม่งั้นนั่งรอหน้าทีวีเป็นชาติก็ไม่ได้ดู ใช่มั้ย) "อ้าว..แต่ทำไมพอเปิดทีวีมาแล้วเป็นข่าวภาคค่ำอ่ะ เราจะดูซี่รี่ย์ไม่ใช่หรอ?" - ก็เพราะคุณยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นช่องที่คุณต่อกับเครื่องเล่นดีวีดีเอาไว้ไง สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ เปลี่ยนช่อง..."อ้าว พอเปิดมาแล้วทำไม ไม่เห็นมีอะไรเลย?"  - ก็เพราะคุณยังไม่ได้เปิดเครื่องเล่นดีวีดีไง เมื่อคุณ เปิดเครื่องเล่นดีวีดี แล้วสิ่งที่คุณต้องทำต่อไปคือใส่แผ่นของซี่รี่ย์ที่คุณอยากดู - "อ้าวทำไมภาพยังไม่ขึ้นล่ะ?" - แน่ใจรึยังว่า ใส่แผ่นถูกด้าน แน่ใจรึยังว่าปลั๊กทุกอย่างเสียบแล้ว...."อ้าวทำไมไม่มีเสียง" - คุณเปิดเสียงที่รีโมทรึยัง ถ้ามันเบาไป ให้กด ''+'' เดี๋ยวมันก็จะดังขึ้น

        จากการสนทนาข้างบน ผมว่าคนที่ถามนี่ ดูโง่มากเลยนะ ฮ่าๆ เรื่องพวกนี้เราก็รู้ๆกันอยู่ ถ้าคุณไม่ใช่เด็ก 4-5 ขวบที่เพิ่งจะเปิดหนังดูเองครั้งแรก คุณน่าจะรู้เรื่องพวกนี้ดี....ใช่ #Signal Flow ก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลยแม้แต่นิดเดียว มันก็เหมือนการเปิดซีรี่ย์เกาหลีดูที่บ้านนั่นแหละ!

        จากเรื่องของการเปิดซีรี่ย์เกาหลีดู ทำให้เราสรุป Concept ของ Signal Flow ได้ว่า
"Source to Destination" แปลตรงๆว่า แหล่งที่มา ไปยัง จุดหมายปลายทาง
ถ้ายังงงอยู่ จะอธิบายอีกรอบนะครับ

จาก Source: แผ่นดีวีดี ไปยัง Destination: เครื่องเล่นดีวีดี
จาก Source:เครื่องเล่นดีวีดี ไปยัง Destination: ทีวี
จาก Source: ทีวี ไปยัง Destination: หูและตาของเรา

ถ้าจะพูดให้ลึกและเจาะจงกว่านี้ เราก็จะใช้ศัพท์ทางวิศวะเข้ามาเกี่ยวนั่นคือ ''Output to Input'' ทางออกของอันนึงไปยังทางเข้าของอีกอันนึง

Output จาก เครื่องเล่นดีวีดี ไปยัง Input ของทีวี
Output จาก ทีวี ไปยัง Input ของเรา( หู,ตา)

ถ้าพูดกันอย่างละเอียดแล้ว เราจะเห็นว่า ในขั้นตอนระหว่างแผ่นดีวีดี ไปยัง เครื่องเล่นดีวีดี หรือ เครื่องเล่นดีวีดี ไปยังทีวี ต้องมีกระบวนการต่างๆด้วย เช่นการที่เครื่องเล่นดีวีดีอ่านแผ่นดีวีดี,การที่สัญญาณจากเครื่องเล่นดีวีดีถูกส่งและกลายเป็นสัญญาณภาพบนจอทีวี หรือแม้กระทั่งการที่เรากดเล่น กดหยุด กดข้าม กดถอยหลัง กดเร่งความเร็ว กดเพิ่มเสียง ลดเสียง เราเรียกมันว่า Processor

จึงเขียนออกมาเป็นศัพท์ทางวิศวะได้ว่า

           Source:                                  Destination:

                                           =>
(Input->Processor-Output)     (Input->Processor-Output)

ต้องจำหลักการนี้ให้ขึ้นใจเหมือนจำชื่อตัวเอง ! 

"จำ..เพื่ออะไรเหรอ??"

        ในการทำงานทุกอย่างเป็นแบบนี้ครับ แต่ถ้าจะเจาะจงในเรื่องของ Sound Engineer มี 2 เหตุผลใหญ่ๆ คือ


1. เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
        ทุกๆครั้งที่เราทำงาน ไม่ว่าจะในสตูดิโอหรือหน้าเวทีคอนเสิร์ต เราต้องเจอกับปัญหาต่างๆตลอดเวลา อุปกรณ์ทุกอย่างที่เราใช้ มันไม่ได้อยู่ตรงนั้นเสมอไป เราจะต้องเป็นคนเซ็ทมันขึ้นมา และเมื่อเราเซ็ทมันขึ้นมา มันอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ อาจจะมาจากเราลืมทำอะไรสักอย่างไป หรือ อาจจะมาจากตัวอุปกรณ์เอง การทำความเข้าใจ Signal Flow จึงเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น "ไมค์ไม่ดัง(เสียงไม่ออก)" ... สิ่งที่ต้องคิดและ"ไล่"เช็คคือ เปิดไมค์รึยัง => เสียบสายไมค์กับ Pre-ampรึยัง => ปรับที่ Pre-amp รึยัง => เลือกว่าเป็นสัญญาณ Mic บน Mixer รึยัง => ส่งไปยัง output แล้วหรือยัง => ต่อสายลำโพงรึยัง => ลำโพงเปิดรึยัง...ถ้าผิดพลาดตรงจุดไหน ก็แค่ไปแก้ที่จุดนั้น ซึ่งอาจมากกว่า 1 จุด เราจึงต้องมองที่ Source และ Destination เสมอ ถ้าเราคิดว่าเราทำครบทุกอย่างแล้วแต่ยังไม่เวิร์ค อาจเป็นปัญหาที่ตัวอุปกรณ์หรือสายสัญญาณ ซึ่งถ้ารู้ว่าเกิดขึ้นตรงไหน เราก็แค่ซ่อมมัน หรือเปลี่ยนมัน เท่านั้นเอง

2. เพื่อสร้างงานศิลปะ
        เมื่อเราเข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ ก็สามารถพลิกแพลง เพื่อให้เกิดงานศิลปะและตอบสนองต่อจินตนาการของเราได้ เช่น เราสามารถ Effect กีตาร์ เจ๋งๆ จาก Signal Processor ธรรมดาๆบน Software ได้ จากการส่งสัญญาณแยกไปยัง Auxilary 3 ที่ ที่แรกใส่ Low cut Filter แล้ว ใส่ Distortion Effect ที่ที่สอง Cut ย่าน​Low และ High แล้วใส่ Delay กับ Comp. หนักๆ ที่ที่3 อาจจะ Low Pass Filter แล้ว ใส่ Reverb เมื่อ Return มาแล้วมิกซ์รวมกัน ก็อาจจะได้เสียงอะไรที่เจ๋งๆ ขึ้นมาก็ได้ ซึ่งหลักการเหล่านี้ เราก็สามารถนำไปใช้ใน Synthesizer เพื่อสร้างเสียงเจ๋งๆหรือตอบโจทย์ในการทำงานของเราได้เช่นกัน ซึ่งจะดีหรือไม่ดีก็เป็นเรื่องของรสนิยม, ประสบการณ์ และความกล้าที่จะทดลอง แต่แน่นอนว่า ต้องมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในเรื่อง Signal Flow ซะก่อน

        ถ้าอ่านแล้วงงว่า อะไรคือ Auxilary แล้วอะไรคือส่งไป Low cut Filter และ delay, comp, reverb e9js=af^*&#jzc นู่นนี่ = = ไม่ต้องกังวลนะครับ อันนี้แค่จะยกตัวอย่างให้รู้ว่าเราทำอะไรกับบนโต๊ะที่มีปุ่มและที่เลื่อนๆเยอะแยะจนตาลายได้บ้าง ซึ่งจริงๆแล้วเมื่อเราทำความรู้จักกับมันดีๆ เราจะรู้ว่ามันมีแค่ไม่กี่ปุ่มหรอก ก็แค่ Copy แล้วก็ Paste ไปยาวๆ เท่านั้นเอง ติดตามตอนต่อไป เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ " Channel Strip" กันนะครับ สำหรับวันนี้ใครที่มีคำถามหรืออยากแสดงความคิดเห็นก็คอมเม้นกันมาได้เลยครับ ขอบคุณที่ติดตามพวกเรา  Horse Power Production ครับ

By Sound Guy