อะไรคือดนตรี ?
ถ้าจะให้คำจำกัดความง่ายๆดนตรีคือแขนงหนึ่งของศิลปะที่ว่าด้วยเสียงทุกเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น
ด้วยความตั้งใจ และด้วยความไม่ตั้งใจ จุดประสงค์ของดนตรีมีอยู่หลายอย่าง เช่น เพื่อความบันเทิง เพื่อสรรเสริญ เพื่อสักการะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เพื่อยกระดับความคิดและจิตใจ และอีกมากมาย
ในอดีตมนุษย์สร้างดนตรีมาเพื่อสรรเสริญ, สักการะพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่เขาเชื่อว่าอยู่เหนือธรรมชาติ และเพื่อขับไล่ความกลัวที่มีต่อความเงียบ โดยดนตรีในยุคนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการเลียนแบบเสียงในธรรมชาติ (ฟ้าผ่า เสียงสัตว์ etc.)
ในยุคต่อมาก็เริ่มทำดนตรีเพื่อความบันเทิง มีการใช้เพื่อประกอบการแสดง ใช้เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ดนตรีได้ขยายขอบเขตให้สามัญชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และในที่สุดดนตรีก็ก้าวขึ้นมาสู่การเป็นศิลปะชั้นสูง มีการประสมวงของเครื่องดนตรีหลายๆชนิด เพลงที่แต่งขึ้นไม่ใช่เพียงเพื่อสักการะพระเจ้า แต่เป็นการสื่อเรื่องราวและอารมณ์ต่างๆ จากนักประพันธ์ลงในกระดาษ ต่อมาให้นักดนตรีตีความ และบรรเลงออกมา เพื่อให้ผู้ชมฟังและตีความอีกต่อหนึ่ง
ด้วยความตั้งใจ และด้วยความไม่ตั้งใจ จุดประสงค์ของดนตรีมีอยู่หลายอย่าง เช่น เพื่อความบันเทิง เพื่อสรรเสริญ เพื่อสักการะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เพื่อยกระดับความคิดและจิตใจ และอีกมากมาย
ในอดีตมนุษย์สร้างดนตรีมาเพื่อสรรเสริญ, สักการะพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่เขาเชื่อว่าอยู่เหนือธรรมชาติ และเพื่อขับไล่ความกลัวที่มีต่อความเงียบ โดยดนตรีในยุคนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการเลียนแบบเสียงในธรรมชาติ (ฟ้าผ่า เสียงสัตว์ etc.)
ในยุคต่อมาก็เริ่มทำดนตรีเพื่อความบันเทิง มีการใช้เพื่อประกอบการแสดง ใช้เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ดนตรีได้ขยายขอบเขตให้สามัญชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และในที่สุดดนตรีก็ก้าวขึ้นมาสู่การเป็นศิลปะชั้นสูง มีการประสมวงของเครื่องดนตรีหลายๆชนิด เพลงที่แต่งขึ้นไม่ใช่เพียงเพื่อสักการะพระเจ้า แต่เป็นการสื่อเรื่องราวและอารมณ์ต่างๆ จากนักประพันธ์ลงในกระดาษ ต่อมาให้นักดนตรีตีความ และบรรเลงออกมา เพื่อให้ผู้ชมฟังและตีความอีกต่อหนึ่ง
แล้วทฤษฎีดนตรีเข้ามามีบทบาทตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พยายามจะหาคำอธิบายให้กับทุกอย่าง ดนตรีก็เช่นกัน ทฤษฎีในยุคแรกๆมีแค่วิธีการปรับเสียงเครื่องดนตรี วิธีการสร้างเครื่องดนตรี แนวการบรรเลงดนตรี ทฤษฎีดนตรีมีส่วนใหญ่มาจากการเฝ้าดูนักดนตรีและนักประพันธ์และพยายามอธิบายถึงวิธีการสร้างดนตรี และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ทฤษฎีดนตรีจัดว่าเป็นแขนงย่อยของดนตรีวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วย องค์ประกอบต่างๆที่ทำให้เกิดบทเพลงขึ้นมา เช่น ทำนอง (melody) จังหวะ (rhythm) เสียงประสาน (harmony) โครงสร้าง (form) และยังรวมถึงวิธีในการบรรเลง เทคนิคต่างๆ และการตีความบทเพลงอีกด้วย ในโพสต์นี้เราจะมาพูดถึงทฤษฎีดนตรีตะวันตกกันนะครับ
ส่วนประกอบพื้นฐานของดนตรี
Pitch - ระดับเสียง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของดนตรี pitch เป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้ความแตกต่างของเสียงสูงและเสียงต่ำ เช่น middle C และ high C เมื่อหลายๆ pitch ถูกบรรเลง ในเวลาเดียวกันก็จะเกิดเป็นเสียงประสาน (harmony) และหากนำหลายๆ pitch มาเรียงต่อกันก็จะเกิดเป็นทำนอง (melody) การจะบอกระดับของ pitch นั้นสามารถบอกได้จากระดับความถี่ (frequency) ซึ่งเสียงที่สำคัญบางเสียงจะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น concert pitch นั้นคือเสียง A ซึ่งอยู่เหนือ middle C มีความถี่ 440 Hz
Pitch - ระดับเสียง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของดนตรี pitch เป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้ความแตกต่างของเสียงสูงและเสียงต่ำ เช่น middle C และ high C เมื่อหลายๆ pitch ถูกบรรเลง ในเวลาเดียวกันก็จะเกิดเป็นเสียงประสาน (harmony) และหากนำหลายๆ pitch มาเรียงต่อกันก็จะเกิดเป็นทำนอง (melody) การจะบอกระดับของ pitch นั้นสามารถบอกได้จากระดับความถี่ (frequency) ซึ่งเสียงที่สำคัญบางเสียงจะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น concert pitch นั้นคือเสียง A ซึ่งอยู่เหนือ middle C มีความถี่ 440 Hz
Rhythm - จังหวะ คือการจัดวางเสียงต่างๆเพื่อให้ดนตรีสามารถเคลื่อนไปได้ เป็นเหมือนกับชีพจรของบทเพลง โดยส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงอารมณ์ของบทเพลงนั้นๆ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในดนตรี เราอาจเห็นว่าในบางเพลงเราไม่สามารถที่จะเห็นจังหวะที่แน่นอนได้ แต่นั่นไม่ได้แปลว่าในเพลงนั้น ไม่มีจังหวะอยู่ ตัวอย่างง่ายๆของการจับจังหวะดนตรีคือการตบมือตามเพลง
Dynamic - ความดังเบาของเสียง ในทางทฤษฎีดนตรีแล้วพวกเราไม่สามารถวัดความดังเบาจริงๆได้ เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆของการบรรเลง ณ เวลานั้นๆ เช่น สถานที่ เสียงรบกวน ความดังเบาที่นักดนตรีต้องเล่นออกมาจึงไม่เท่ากันในบางครั้ง โดยทั่วไปในดนตรีคลาสสิก P (piano) แปลว่าเบา F (forte) แปลว่าดังและตัว m (mezzo) แปลว่าค่อนข้าง
Timbre - สีสันของเสียง หรือลักษณะเด่นเฉพาะของเสียงที่มาจากเครื่องดนตรีหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเครื่องดนตรีชนิดอะไรกำลังเล่นอยู่ เช่น เสียงต่ำของ Violin นั้นจะให้ความรู้สึกอบอุ่น หรือเสียงของเครื่องประเภท Low brass (ทูบา เบสทรอมโบน) จะให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม สิ่งที่ทำให้เครื่องดนตรีสร้างเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ออกมาได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายๆองค์ประกอบ เช่น วัสดุที่ใช้ทำเครื่อง วิธีการบรรเลง เทคนิคที่ใช่เล่น ประสบการณ์ของนักดนตรี เป็นสิ่งสำคัญในการเรียบเรียงเพลงให้กับวงดนตรีใหญ่ๆอย่าง Orchestra หรือ Wind symphony
Melody - ทำนอง เมื่อนำสามข้อแรกมารวมกันแล้วเราจะได้สิ่งนี้ขึ้นมา พื้นฐานแล้วทำนองคือสิ่งที่ทำให้ ดนตรีสามารถเคลื่อนตัวไปได้ ส่วนใหญ่เป็นชุดเสียงที่เคลื่อนตัวเข้าหาจุดไคลแมกซ์ แล้วคลายตัวลงจนหยุดไป เป็นการเชื่อมเสียงต่างๆในแนวนอน แต่ก็มีดนตรีบางประเภทที่ไม่มีทำนองเช่นกัน (Film score บางเพลง, ambient) สรุปได้ว่าดนตรีไม่จำเป็นต้องมีทำนองเสมอไป
Harmony - เสียงประสาน คือการนำ pitch มากกว่า 2 pitch ขึ้นไปมาบรรเลงพร้อมกัน เป็นการเชื่อมเสียงต่างๆในแนวตั้ง ในทางทฤษฎีจะรวมไปถึงการใช้ chord ประเภทต่างๆและ การเรียงตัวกันของคอร์ดด้วย โดยพื้นฐานเราสามารถแยก harmony ออกได้เป็นสองแบบ คือ consonant (เสียงที่กลมกลืนกัน) และ dissonant (เสียงที่ไม่กลมกลืนกัน) ซึ่งผมจะมาเขียนในโพสต์ต่อๆไปนะครับ
Articulation - คือรายละเอียดในการเล่นเสียงหนึ่งๆ marcato แปลว่าเน้น tenuto คือการเล่นให้เต็มจังหวะ legoto คือการเล่นให้เสียงหนึ่งเชื่อมกับอีกเสียงหนึ่ง etc. articulation นั้นเป็นการบอกว่าเสียงที่ออกมา ควรจะมีลักษณะอย่าง ไม่ใช่เสียงนี้ควรจะเล่นอย่างไร ดังนั้นใน articulation หนึ่งๆนั้นจึงสามารถ ใช้เทคนิคมากมายในการเล่น เช่น วิธีการเล่น staccato (การเล่นให้เสียงแยกกัน) ในเครื่องสายนั้น มีเทคนิคในการเล่นมากกว่า 1 อย่าง
Form - โครงสร้างของบทเพลง คุณอาจจะไม่เคยรู้ว่าในเพลงมันต้องมีโครงสร้างด้วยหรอ ? แล้วทำไมต้องมีล่ะ คำตอบคือต้องมีนะครับ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเขียนงานดนตรีชนิดใดๆก็ตาม form เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณสามารถเรียบเรียง วางตำแหน่งเนื้อหา และไอเดียของบทเพลงได้ ไม่ใช่แค่ในดนตรีคลาสสิคเท่านั้นแต่ในดนตรีป๊อปก็จำเป็นต้องมี form (ซึ่งอันที่จริงแล้วมันก็พัฒนามาจาก form ของดนตรีคลาสสิกนั่นแหละ! ) โครงสร้างที่เราจะเห็นบ่อยๆคือ Interlude - Verse - Bridge - Chorus (Hook) - Verse II - Bridge - Chorus II (Hook) - Outro
หากใครมีคำถาม หรืออยากพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาก็สามารถ comment ได้เลยนะครับ
ขอบคุณที่ติดตามพวกเรา Horse Power Production ครับ
by Five Lines
by Five Lines
No comments:
Post a Comment