Score หลักภาษาในโลกของดนตรี

อะไรคือ Score ?


         Score นั้นหมายถึงรูปลักษณ์อักษรของงานดนตรีชิ้นหนึ่งๆ ที่แสดงโน้ตของเครื่องดนตรีต่างๆในบทเพลงพร้อมๆกันแบ่งเป็นหลายๆ Lines (บรรทัด) ซึ่งโดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าโน้ต part ซึ่งหมายถึงโน้ตส่วนของเครื่องดนตรีหนึ่งๆเพียงอย่างเดียว ex. Score เพลง... for orchestra, Bassoon part.





อ้าว แล้วอย่างนี้พวกเพลงป๊อป ร๊อค แจ๊สทั้งหลายล่ะ จำเป็นต้องมี Score มั้ย ?

         ดนตรีทุกประเภทย่อมต้องมี Score นะครับ เพียงแต่ว่าลักษณะการจดบันทึกนั้นจะแตกต่างกันไปตามสไตล์ของบทเพลง เช่นใน Score เพลงแจ๊สเราอาจไม่ได้เห็นโน้ตบันทึกแบบเห็นเป็นตัวๆในช่วงโซโล่ แต่เขียนแค่คอร์ดที่นักดนตรีต้องอิมโพรไวส์ตาม หรือในเพลงป๊อปต่างๆเราอาจเห็นแค่ melody หลักแล้วเขียนชื่อคอร์ดลงใน Line อื่น เพราะว่าวิธีการบรรเลงในไม่จำเป็นต้อง strict หรือเจาะจงมากๆนั่นเอง



หากจะบอกว่าดนตรีเป็นภาษาสากลของโลก ทักษะการอ่านโน้ตหรือ Score ก็คงเป็น Grammar นั่นเอง

แล้วใน Score หรือโน้ตควรมีอะไรบ้าง ?

1. อย่างแรกเลยคือชื่อครับ ไม่มีชื่อแล้วจะรู้ได้ไงว่าเป็นเพลงอะไร ไม่ใช่แค่ชื่อเพลง แต่บทประพันธ์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วควรมีชื่อนักประพันธ์ และคนเรียบเรียง (ถ้ามี) ด้วย

2. สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยครับ นั่นคือตัวโน้ต (ไม่มีก็คงไม่ต้องเรียกว่าโน้ตดนตรีแล้วล่ะ)

3. Time signature คือตัวกำหนดอัตราจังหวะของบทเพลง ซึ่งไม่ใช่ความเร็วช้านะครับ แต่หมายถึงค่าของโน้ตหนึ่งๆ และวิธีการนับจังหวะ โดยเลขด้านล่างนั้นจะกำหนดค่าของโน้ตในหนึ่งจังหวะ และเลขด้าน

บทจะกำหนดจำนวนจังหวะต่อห้อง เช่น 4/4 นั้นจะหมายถึงให้โน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับหนึ่งจังหวะ และในหนึ่งห้องมีสี่จังหวะ (= ในหนึ่งห้องมีโน้ตตัวดำสี่ตัว), 3/8 หมายถึงโน้ตเขบ็ตมีค่าหนึ่งจังหวะ และในห้องหนึ่งมี 3 จังหวะ (= หนึ่งห้องมีเขบ็ต 3 ตัว)

4. Tempo คือความเร็วช้าของบทเพลง

5. Dynamic คือความดังเบา

6. Program note คือข้อมูลอื่นๆที่เราสามารถศึกษาเพื่อตีความบทเพลงได้ดีขึ้น อาจจะเป็นแนวคิด หรือไอเดียที่นักประพันธ์ใช้ หรือสิ่งที่นักประพันธ์กำลังเผชิญอยู่ในเวลาเดียวกันกับตอนประพันธ์ ก็มีผลกระทบในการตีความเช่นกัน

ในเพลงสมัยใหม่นั้นอาจมีการใช้สัญลักษณ์ที่แปลกไปจากเดิม บางทีก็เป็นการบันทึกโน้ตแบบใหม่ที่นักประพันธ์คิดขึ้นมาเอง ซึ่งวิธีการอ่านนั้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งใน program note เช่นกัน

เมื่อรู้ส่วนประกอบแล้วต่อไปเรามาดูชนิดของ Score กันบ้างดีกว่านะครับ เราสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆนั่นคือ

1. Traditional Score คือชนิดที่เห็นได้ทั่วไปมากที่สุด นั่นคือโน้ตในแบบที่เราเห็นกันทุกวันนั่นเอง ซึ่งก็สามารถแบ่งเป็น Full score, Miniature score, Piano score etc.


2. Contemporary Score คือ Score ที่ใช้เทคนิคการบันทึกโน้ตที่นักประพันธ์สมัยใหม่คิดค้นขึ้น อาจเพื่อความสะดวกในการอ่าน หรืออาจเกี่ยวกับแนวคิดที่ใช้สร้างารรค์ผลงานก็ได้ ซึ่งก็สามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประเภท เช่น Graphic score, Text score etc. เหตุผลที่มีการประดิษฐ์ Score ประเภทนี้ขึ้นมานั้นก็เพื่อให้รองรับการพัฒนาตัวของดนตรี เช่นเดียวกับภาษาที่เราใช้กันอยู่ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปก็มีการคิดค้นคำใหม่ๆมากขึ้นเพื่อให้สื่อสาส์นที่เราต้องการได้สะดวกขึ้น มีการใช้การเขียนแบบใหม่ (เห็นได้ชัดเจนมากจากภาษาอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย อุอิอุอิ ครุคริ จิบิ)


แล้วถ้าเราอ่านโน้ตไม่เป็นจะสามารถทำงานที่เกี่ยวกับดนตรีได้หรือไม่? เช่นเดียวกับภาษา งานบางอย่างอาจจะไม่จำเป็นต้องอ่านเป็นนะครับ แต่เชื่อผมเถอะ หากคุณสามารถอ่านออกเขียนได้จะทำให้การทำงานกับทีมมีความคล่องตัวมากขึ้นแน่นอนครับ

หากใครมีคำถาม หรืออยากพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาก็สามารถ comment ได้เลยนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามพวกเรา Horse Power Production ครับ

By Five Lines

No comments:

Post a Comment