Microphone Placement

        ในการอัดเสียงหรือคอนเสิร์ตต่างๆ การวางไมค์(Miking)ในตำแหน่งที่ถูกต้องก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อคุณภาพเสียงอย่างมาก ซึ่งการจะวางตรงไหน ห่างเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องดนตรี แนวของดนตรีและประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 4 แบบหลักๆ ได้แก่

1. Distant Miking วางไมค์ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง 1 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะได้เสียงของเครื่องดนตรีทั้งชิ้นและยังได้เสียงจาก Room อีกด้วย (เสียงของสภาพแวดล้อมในขณะนั้น) ซึ่งมีข้อดีคือได้เสียงที่เป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ กับการอัดวงดนตรีที่เป็นเครื่องอะคูสติค เช่น วงออเคสตร้า วงขับร้องประสานเสียง แต่ข้อเสียของมันคือ ถ้าหาก Room ไม่ดี (สภาพแวดล้อม - ห้องที่อะคูสติดไม่ดี) ก็จะทำให้คุณภาพเสียงแย่ลง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

2. Close Miking วางไมค์ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง 1-3 นิ้ว จะทำให้ได้เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เดียวแบบชัดๆ เต็มๆ แน่นๆ หากแต่ว่า เครื่องดนตรีบางชนิด ก็ไม่ได้มีเสียงออกมาจากรูๆเดียว Close Miking  จึงไม่เหมาะกับการใช้กับเครื่องอะคูสติค นอกจากนั้นก็จะไม่ได้เสียงจาก Room เลย ส่วนใหญ่จึงใช้กับดนตรีประเภทป็อป หรือ ร็อค แล้วจึงค่อยไปเพิ่มเสียงของสภาพแวดล้อมเองทีหลัง โดยอาจจะเอามาผสมกับไมค์ที่ตั้งห่างๆไว้ในห้องเรียกว่า Room Mic. หรือไม่ก็ใช้ Plugins สร้างเสียงของสภาพแวดล้อมเช่น Reverb แบบต่างๆขึ้นมา


3. Accent Miking มักใช้ในการอัดเสียงวงออเคสตร้าที่จะต้องมีเครื่องดนตรีชิ้นนึงเด่นออกมา (พูดง่ายๆคือเวลาที่มัน Soloist) ซึ่งการวางไมค์จะต้องไม่ไกลจาก Soloist เกินไปจนโดนเสียงจากวงกลบ และต้องไม่ใกล้เกินไปจนเสียความเป็นธรรมชาติไป

4. Ambient Miking เป็นการวางไมค์เพื่อเก็บเสียง Room โดยเฉพาะ เพื่อให้ได้เสียงสะท้อน ( Reverb) หรือเสียงจากผู้ชม หรือ เสียงที่เกิดขึ้นจริงๆ ในห้องนั้น เพื่อนำมาผสมกับเสียงดิบๆ ที่เราได้มาจาก Close Miking เพื่อให้เสียงมีความชัดเจนแต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความเป็นธรรมชาติและไม่แห้งจนเกินไป

        ในการอัดเครื่องดนตรีหรือวงดนตรีที่เป็นอะคูสติค...ความเป็นธรรมชาติถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นจึงมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า Stereo Miking Technique ขึ้นมา จากชื่อ...ใช่แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ต้องเป็น Stereo มีด้านซ้ายและด้านขวา เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกถึงมิติและความสมจริง ความเป็นธรรมชาติสุด แบ่งออกเป็น...ประเภท ได้แก่​

1. X-Y หรือ Coincident Miking
ใช้ไมค์ Condensor ที่เป็น Cardioid 2 ตัว โดยให้หัวไมค์ใกล้กันที่สุด ทำมุม 90-135° โดยระยะห่างระหว่างไมค์และแหล่งกำเนิดเสียงขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ Stereo Image ที่เรียกกันว่า Coincident เพราะการวางไมค์แบบนี้จะทำให้ไมค์ 2 ตัวรับเสียงพร้อมๆกัน ไม่การ Delay จึงไม่เกิดปัญหาเรื่อง Phase Cancelation




2. ORTF หรือ Near Coincident Miking
ใช้ไมค์ Condensor ที่เป็น Cardioid 2 ตัวเหมือนกับ X-Y แต่แทนที่จะหันหัวมาทางเดียวกัน กลับหันไปคนละด้าน โดย ทำมุม 110° หัวไมค์ห่างกันประมาณ 17 cm.
ถ้าหาก ห่างกัน 20 cm. และทำมุม 90° จะเรียกว่า DIN
ถ้าหาก ห่างกัน 30 cm. และทำมุม 90° จะเรียกว่า NOS
การวางไมค์ประเภทนี้ ให้ความรู้ของ Strero Image ที่กว้าง ตำแหน่งของเครื่องดนตรีชัดเจน (เสียงมาจากทิศทางไหน แทบจะชี้ได้เลย)  อย่างไรก็ตามเนื่องจาก ไมค์สองตัวมีความห่างกันพอสมควร จึงต้องระวังเรื่อง Delay และ Phase Cancelation ด้วย

    



3. A-B หรือ Space Pair , OSS และ Binaural
ใช้ Omni 2 ตัว วางห่างจากันประมาณ 40 cm. ทำให้ได้ Strero Image ที่กว้างมากๆ แต่ในขณะเดียวกัน ทำให้เสียรายละเอียดของเสียงที่อยู่ตรงกลางไป ให้ความรู้สึกเหมือนเป็น”หลุมอยู่ตรงกลาง” อะไรแบบนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องระวังเรื่อง Delay และ Phase Cancelation ด้วย จึงมีคนคิดค้นวิธีที่เรียกว่า OSS (Optimal Stereo Signal) หรือ Jecklin Disk ซึ่งเป็นการใช้ Omni 2 ตัว แต่มีแผ่นAbsorb อยู่ตรงกลางระหว่างไมค์ทั้งสอง
         


4. Mid-side (M/S)
ใช้ Cardioid 1 ตัว(mid)  Bi-Directional 1 ตัว (side) ก็อปสัญญาณของ side ไปอีก channel นึงแล้ว แพนซ้ายสุด ขวาสุด สัญญาณที่ก็อปไปให้กด Phase Reverse เพื่อไม่ให้มันหักล้างกันเอง Midside จึงได้ Stereo image ที่กว้างและยังคงความชัดตรงกลางเอาไว้ แถมยังไม่มีปัญหาเรื่อง Phase Cancellation ด้วย



 


5. Blumlein Pair 
ใช้ Bi-directional 2 ตัว วางให้หัวชนกัน แต่หันหน้าไปคนละด้าน เหมาะสำหรับการเก็บ ambient , reverb ของห้อง เพราะได้เสียงมาจากรอบทิศทาง







6. Decca Tree
ใช้ Omni 3 ตัว ซ้าย, ขวา, กลาง ทุกตัวระยะห่างเท่ากัน นับจากจุดศูนย์กลาง(ทางแยก 3 ขา) แต่ไมค์กลางจะอยู่หน้าสุด (เสียงมาถึงก่อนแล้วค่อยไปถึงซ้ายและขวา) สูงจากพื้น 3-4 เมตร เพื่อให้ได้ image ที่เหมือนจริง หลักการทุกอย่างเหมือน A-B แค่เพิ่มไมค์กลางเพื่อแก้ปัญหาหลุมตรงกลาง ทำให้ได้ image ที่กว้างและชัดเจน แต่ต้องระวังเรื่อง Phase Cancellation ซึ่ง บริษัท Neumann ได้คิดค้นไมค์ Neumann M50 ซึ่งเป็นไมค์สำหรับ Decca tree โดยเฉพาะ

1 comment:

  1. สมัคร pg slot สมัครสมาชิก เพื่อรับความสนุกสนานที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างไม่เคยสัมผัสมาก่อนกับ pg slot เว็บสล็อตออนไลน์ที่กำลังมาแรงที่สุดในปีนี้ กับเกมสล็อต

    ReplyDelete