Microphone Placement

        ในการอัดเสียงหรือคอนเสิร์ตต่างๆ การวางไมค์(Miking)ในตำแหน่งที่ถูกต้องก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อคุณภาพเสียงอย่างมาก ซึ่งการจะวางตรงไหน ห่างเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องดนตรี แนวของดนตรีและประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 4 แบบหลักๆ ได้แก่

1. Distant Miking วางไมค์ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง 1 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะได้เสียงของเครื่องดนตรีทั้งชิ้นและยังได้เสียงจาก Room อีกด้วย (เสียงของสภาพแวดล้อมในขณะนั้น) ซึ่งมีข้อดีคือได้เสียงที่เป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ กับการอัดวงดนตรีที่เป็นเครื่องอะคูสติค เช่น วงออเคสตร้า วงขับร้องประสานเสียง แต่ข้อเสียของมันคือ ถ้าหาก Room ไม่ดี (สภาพแวดล้อม - ห้องที่อะคูสติดไม่ดี) ก็จะทำให้คุณภาพเสียงแย่ลง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

2. Close Miking วางไมค์ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง 1-3 นิ้ว จะทำให้ได้เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เดียวแบบชัดๆ เต็มๆ แน่นๆ หากแต่ว่า เครื่องดนตรีบางชนิด ก็ไม่ได้มีเสียงออกมาจากรูๆเดียว Close Miking  จึงไม่เหมาะกับการใช้กับเครื่องอะคูสติค นอกจากนั้นก็จะไม่ได้เสียงจาก Room เลย ส่วนใหญ่จึงใช้กับดนตรีประเภทป็อป หรือ ร็อค แล้วจึงค่อยไปเพิ่มเสียงของสภาพแวดล้อมเองทีหลัง โดยอาจจะเอามาผสมกับไมค์ที่ตั้งห่างๆไว้ในห้องเรียกว่า Room Mic. หรือไม่ก็ใช้ Plugins สร้างเสียงของสภาพแวดล้อมเช่น Reverb แบบต่างๆขึ้นมา

Microphone Specification...เลือกดีๆ ไม่มีขาดทุน !




        ไมโครโฟนมีเป็นร้อยๆยี่ห้อ มีเป็นพันๆรุ่น ราคาก็หลากหลาย การจะเลือกไมโครโฟนสักตัวมาใช้ให้เหมาะกับงานและงบก็เป็นเรื่องที่คิดหนักพอสมควร แน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการได้ลองใช้มัน ลองฟังเสียงของมัน แต่…ในเมื่อมันมีเป็นร้อยๆพันๆตัว เราจะเลือกตัวไหนล่ะ? วิธีการที่เราจะคัดสัก 4-5 ตัวที่ตรงใจเรามา แล้วลองใช้มันหรือลองฟังเสียงของมันในขึ้นตอนสุดท้าย ก็คือ การอ่านสเป็คของมัน นั่นเอง 

Directional Characteristic ทิศทางไหน...ไมค์รู้ได้ไง??

 
  หลังจากที่รู้จักกับไมค์ประเภทต่างๆที่แบ่งตามหลักการทำงานของมันแล้ว วันนี้ผมจะพูดถึงการแบ่งประเภทของไมค์โดยทิศทางการรับเสียงของมันนะครับ

   





  Directional Characteristics หรือ มักจะพบในชื่อ Polar Pattern หมายถึงความสามารถในการรับเสียงของไมค์จากทิศทางต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้และเข้าใจเพื่อที่จะวางไมค์ในตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะของมัน เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด


Introduction to Signal Flow

 
       "Signal Flow" เป็นคำศัพท์ที่คนจะเป็น Sound Engineer ต้องรู้เป็นอย่างดี คำว่า Signal Flow หมายถึงเส้นทางการเดินทางของสัญญาณในวงจรใดๆก็ตามผ่านอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น Signal Flow ของ Mixing Console , Signal Flow ของ Synthesizer

         พูดแบบนี้ อาจจะไกลตัวไปนิดนึง เราลองมาพูดถึงอะไรที่ใกล้ตัวและเข้าใจง่ายๆ กันดีกว่า สมมติว่า คุณอยากจะดูซี่รี่ย์เกาหลี คุณจึงไปซื้อดีวีดีเรื่องที่อยากดูมา เพื่อมาเปิดในเครื่องเล่นดีวีดีที่บ้านคุณ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เปิดทีวี...(ไม่งั้นนั่งรอหน้าทีวีเป็นชาติก็ไม่ได้ดู ใช่มั้ย) "อ้าว..แต่ทำไมพอเปิดทีวีมาแล้วเป็นข่าวภาคค่ำอ่ะ เราจะดูซี่รี่ย์ไม่ใช่หรอ?" - ก็เพราะคุณยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นช่องที่คุณต่อกับเครื่องเล่นดีวีดีเอาไว้ไง สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ เปลี่ยนช่อง..."อ้าว พอเปิดมาแล้วทำไม ไม่เห็นมีอะไรเลย?"  - ก็เพราะคุณยังไม่ได้เปิดเครื่องเล่นดีวีดีไง เมื่อคุณ เปิดเครื่องเล่นดีวีดี แล้วสิ่งที่คุณต้องทำต่อไปคือใส่แผ่นของซี่รี่ย์ที่คุณอยากดู - "อ้าวทำไมภาพยังไม่ขึ้นล่ะ?" - แน่ใจรึยังว่า ใส่แผ่นถูกด้าน แน่ใจรึยังว่าปลั๊กทุกอย่างเสียบแล้ว...."อ้าวทำไมไม่มีเสียง" - คุณเปิดเสียงที่รีโมทรึยัง ถ้ามันเบาไป ให้กด ''+'' เดี๋ยวมันก็จะดังขึ้น

        จากการสนทนาข้างบน ผมว่าคนที่ถามนี่ ดูโง่มากเลยนะ ฮ่าๆ เรื่องพวกนี้เราก็รู้ๆกันอยู่ ถ้าคุณไม่ใช่เด็ก 4-5 ขวบที่เพิ่งจะเปิดหนังดูเองครั้งแรก คุณน่าจะรู้เรื่องพวกนี้ดี....ใช่ #Signal Flow ก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลยแม้แต่นิดเดียว มันก็เหมือนการเปิดซีรี่ย์เกาหลีดูที่บ้านนั่นแหละ!

        จากเรื่องของการเปิดซีรี่ย์เกาหลีดู ทำให้เราสรุป Concept ของ Signal Flow ได้ว่า
"Source to Destination" แปลตรงๆว่า แหล่งที่มา ไปยัง จุดหมายปลายทาง
ถ้ายังงงอยู่ จะอธิบายอีกรอบนะครับ

จาก Source: แผ่นดีวีดี ไปยัง Destination: เครื่องเล่นดีวีดี
จาก Source:เครื่องเล่นดีวีดี ไปยัง Destination: ทีวี
จาก Source: ทีวี ไปยัง Destination: หูและตาของเรา

ถ้าจะพูดให้ลึกและเจาะจงกว่านี้ เราก็จะใช้ศัพท์ทางวิศวะเข้ามาเกี่ยวนั่นคือ ''Output to Input'' ทางออกของอันนึงไปยังทางเข้าของอีกอันนึง

Output จาก เครื่องเล่นดีวีดี ไปยัง Input ของทีวี
Output จาก ทีวี ไปยัง Input ของเรา( หู,ตา)

ถ้าพูดกันอย่างละเอียดแล้ว เราจะเห็นว่า ในขั้นตอนระหว่างแผ่นดีวีดี ไปยัง เครื่องเล่นดีวีดี หรือ เครื่องเล่นดีวีดี ไปยังทีวี ต้องมีกระบวนการต่างๆด้วย เช่นการที่เครื่องเล่นดีวีดีอ่านแผ่นดีวีดี,การที่สัญญาณจากเครื่องเล่นดีวีดีถูกส่งและกลายเป็นสัญญาณภาพบนจอทีวี หรือแม้กระทั่งการที่เรากดเล่น กดหยุด กดข้าม กดถอยหลัง กดเร่งความเร็ว กดเพิ่มเสียง ลดเสียง เราเรียกมันว่า Processor

จึงเขียนออกมาเป็นศัพท์ทางวิศวะได้ว่า

           Source:                                  Destination:

                                           =>
(Input->Processor-Output)     (Input->Processor-Output)

ต้องจำหลักการนี้ให้ขึ้นใจเหมือนจำชื่อตัวเอง ! 

"จำ..เพื่ออะไรเหรอ??"

        ในการทำงานทุกอย่างเป็นแบบนี้ครับ แต่ถ้าจะเจาะจงในเรื่องของ Sound Engineer มี 2 เหตุผลใหญ่ๆ คือ


1. เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
        ทุกๆครั้งที่เราทำงาน ไม่ว่าจะในสตูดิโอหรือหน้าเวทีคอนเสิร์ต เราต้องเจอกับปัญหาต่างๆตลอดเวลา อุปกรณ์ทุกอย่างที่เราใช้ มันไม่ได้อยู่ตรงนั้นเสมอไป เราจะต้องเป็นคนเซ็ทมันขึ้นมา และเมื่อเราเซ็ทมันขึ้นมา มันอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ อาจจะมาจากเราลืมทำอะไรสักอย่างไป หรือ อาจจะมาจากตัวอุปกรณ์เอง การทำความเข้าใจ Signal Flow จึงเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น "ไมค์ไม่ดัง(เสียงไม่ออก)" ... สิ่งที่ต้องคิดและ"ไล่"เช็คคือ เปิดไมค์รึยัง => เสียบสายไมค์กับ Pre-ampรึยัง => ปรับที่ Pre-amp รึยัง => เลือกว่าเป็นสัญญาณ Mic บน Mixer รึยัง => ส่งไปยัง output แล้วหรือยัง => ต่อสายลำโพงรึยัง => ลำโพงเปิดรึยัง...ถ้าผิดพลาดตรงจุดไหน ก็แค่ไปแก้ที่จุดนั้น ซึ่งอาจมากกว่า 1 จุด เราจึงต้องมองที่ Source และ Destination เสมอ ถ้าเราคิดว่าเราทำครบทุกอย่างแล้วแต่ยังไม่เวิร์ค อาจเป็นปัญหาที่ตัวอุปกรณ์หรือสายสัญญาณ ซึ่งถ้ารู้ว่าเกิดขึ้นตรงไหน เราก็แค่ซ่อมมัน หรือเปลี่ยนมัน เท่านั้นเอง

2. เพื่อสร้างงานศิลปะ
        เมื่อเราเข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ ก็สามารถพลิกแพลง เพื่อให้เกิดงานศิลปะและตอบสนองต่อจินตนาการของเราได้ เช่น เราสามารถ Effect กีตาร์ เจ๋งๆ จาก Signal Processor ธรรมดาๆบน Software ได้ จากการส่งสัญญาณแยกไปยัง Auxilary 3 ที่ ที่แรกใส่ Low cut Filter แล้ว ใส่ Distortion Effect ที่ที่สอง Cut ย่าน​Low และ High แล้วใส่ Delay กับ Comp. หนักๆ ที่ที่3 อาจจะ Low Pass Filter แล้ว ใส่ Reverb เมื่อ Return มาแล้วมิกซ์รวมกัน ก็อาจจะได้เสียงอะไรที่เจ๋งๆ ขึ้นมาก็ได้ ซึ่งหลักการเหล่านี้ เราก็สามารถนำไปใช้ใน Synthesizer เพื่อสร้างเสียงเจ๋งๆหรือตอบโจทย์ในการทำงานของเราได้เช่นกัน ซึ่งจะดีหรือไม่ดีก็เป็นเรื่องของรสนิยม, ประสบการณ์ และความกล้าที่จะทดลอง แต่แน่นอนว่า ต้องมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในเรื่อง Signal Flow ซะก่อน

        ถ้าอ่านแล้วงงว่า อะไรคือ Auxilary แล้วอะไรคือส่งไป Low cut Filter และ delay, comp, reverb e9js=af^*&#jzc นู่นนี่ = = ไม่ต้องกังวลนะครับ อันนี้แค่จะยกตัวอย่างให้รู้ว่าเราทำอะไรกับบนโต๊ะที่มีปุ่มและที่เลื่อนๆเยอะแยะจนตาลายได้บ้าง ซึ่งจริงๆแล้วเมื่อเราทำความรู้จักกับมันดีๆ เราจะรู้ว่ามันมีแค่ไม่กี่ปุ่มหรอก ก็แค่ Copy แล้วก็ Paste ไปยาวๆ เท่านั้นเอง ติดตามตอนต่อไป เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ " Channel Strip" กันนะครับ สำหรับวันนี้ใครที่มีคำถามหรืออยากแสดงความคิดเห็นก็คอมเม้นกันมาได้เลยครับ ขอบคุณที่ติดตามพวกเรา  Horse Power Production ครับ

By Sound Guy

Condensor Microphone ว่องไวปานสายลม !



  จากที่ได้เกริ่นไปในโพสต์ Introduction to Microphone วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับไมโครโฟนชนิดสุดท้ายจากการแบ่งตามวิธีการทำงานหรือ Operating Principle ซึ่งก็คือ Condensor Microphone นั่นเอง

คำถามแรกคือ Condensor Microphone คืออะไร

Condensor Micropho
ne หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Capacitor เป็นไมโครโฟนที่ทำงานโดยการใช้หลักการเก็บและคายประจุไฟฟ้า

ก่อนที่จะรู้จักกับหลักการทำงานของมัน ต้องทำความเข้าใจกับกฎของเบนจามิน แฟรงคลินก่อนที่ว่า กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน หรือในอีกความหมายนึงคือ “เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า”



แล้ว Capacitor คือ อะไร??

1 Year Hungary. Departure.

วันนั้นสนามบินคนเยอะมาก มีทั้งนักเรียนที่จะไปแลกเปลี่ยน เพื่อนๆและผู้ปกครอง ต่างยกทัพเครือญาติทั้งหลายมาส่ง จะเป็นช่วงที่พวกเด็กแลกเปลี่ยนลำบากใจมาก เพราะไม่รู้จะไปคุยกับใครก่อนดี จะไปคุยกับครอบครัวก็เกรงใจเพื่อน จะไปยืนอยู่กับเพื่อนก็อึดอัดสายตาญาติๆ บรรยากาศเต็มไปด้วยความเสียใจ ความไม่แน่ใจ และความตื่นเต้น

What is game? เกมคืออะไร?

What is game? เกมคืออะไร?
                                                 *Salen, K. and E. Zimmerman. Rules of Play : GameDesign Fundamentals. The MIT Press. (2003)

         ในโลกยุคปัจจุบันอันเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระจายความรู้ต่างๆไปทั่วได้อย่างรวดเร็วนั้น หากจะพูดว่าคนแทบทุกคนที่อย่างน้อยมีคอมพิวเตอร์ใช้ต้องเคยได้ยินศัพท์คำว่าเกมก็คงไม่ผิดนัก

แล้วมันคืออะไรล่ะ?

Phantom Power พลังที่มองไม่เห็น !!??????


        จากที่ติดค้างกันไว้ ว่ากันด้วยเรื่องของ Phantom Power ....มันคืออะไร!?
พลังล่องหนงั้นเหรอ?? แล้วทำไมเราต้องเรียกมันว่า Phantom Power ล่ะ มาหาคำตอบกัน !


Score หลักภาษาในโลกของดนตรี

อะไรคือ Score ?


         Score นั้นหมายถึงรูปลักษณ์อักษรของงานดนตรีชิ้นหนึ่งๆ ที่แสดงโน้ตของเครื่องดนตรีต่างๆในบทเพลงพร้อมๆกันแบ่งเป็นหลายๆ Lines (บรรทัด) ซึ่งโดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าโน้ต part ซึ่งหมายถึงโน้ตส่วนของเครื่องดนตรีหนึ่งๆเพียงอย่างเดียว ex. Score เพลง... for orchestra, Bassoon part.



Microphone ep.3 : Ribbon Microphone...บอบบางอย่างมีสไตล์



        จากรูป คิดว่าบางคนน่าจะเคยเห็น แต่คงไม่คุ้นตาเท่ากับ Dynamic Microphone นะครับ เพราะนี่คือ R44C ของ AEA เป็น Ribbon Microphone ซึ่งเกิดผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 1931 (ช่วงก่อนยุคสงครามโลก) ซึ่งเริ่มใช้ในสถานีวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อประกาศข่าวความเป็นความตายของคนบนโลกในแต่ละวัน ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมดนตรีจนถึงปัจจุบัน

        ในโพสต์ที่แล้ว ที่ติดค้างกันไว้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Ribbon Microphone กันนะครับ ถ้าจะบอกว่า Dynamic Microphone เป็นไมค์ที่ทนทานที่สุด Ribbon ก็คงจะเป็นไมค์ที่บอบบางที่สุด ทำไมนะเหรอ? ลองมาดูกันเลย


Game Design กว่าจะเป็นเกม: หน้าที่ของ Game designer

อะไรคือ Game Design ?

         คนวาดกราฟฟิกหรอ ? หรือเป็นคนเขียนเนื้อเรื่อง หรือโปรแกรมเมอร์ หรือนู่น หรือนี่ เต็มไปหมด
เรามักจะเห็นคำว่า Design ใช้กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น บ้าน สิ่งก่อสร้าง แล้วถ้ามาใช้กับเกมล่ะ ?

ว่าด้วยเรื่องของประตู
by Liz England, Game Designer at Insomniac


Creative Director: “เอาล่ะ เราต้องการประตูสำหรับฉากนี้"
Project Manager: “เดี๋ยวผมจะเขียนตารางงานสำหรับคนที่ต้องทำประตูให้นะ”
Designer: “ผมเขียนรายงานอธิบายว่าประตูสามารถทำอะไรได้บ้าง”
Concept Artist: “เห้ ดูรูปประตูพวกนี้สิ ผมลองวาดมาให้ดูกัน
Art Director: “รูปที่สาม รูปที่สามนั่นแหละคือประตูที่เราอยากได้”
Environment Artist: “แล้วผมก็สร้างประตูโดยใช้แบบจากรูปนั้น”
Animator: “ผมทำให้ประตูเปิดและปิดได้”
Sound Designer: “ผมออกแบบเสียงตอนที่ประตูเปิดและปิด”
Audio Engineer: “เสียงนั่นจะเปลี่ยนทิศทางและรูปแบบตามตำแหน่งของคนเล่นตอนที่เปิดประตู”

1 year Hungary. Prologue

"ไม่รีบสมัครหรอ ไปได้แค่ม.ปลายนะ"

"แน่ใจหรอ"

"อย่าเสียใจทีหลังละกัน"

Microphone ep.2 : Dynamic Microphone...The world's Toughest Mic.

Dynamic Microphone

         จากรูปด้านข้างนี้....ใช่ครับ นี่แหละ Dynamic Microphone ทุกคนน่าจะเคยเห็นไมค์ตัวนี้นะครับ ไม่ว่าจะในคาราโอเกะ เวที ห้องประชุม คอนเสิร์ต ไมค์ตัวนี้คือชื่อ SM 58 ครับ ยี่ห้อ Shure เป็น Dynamic Microphone ที่มียอดขายสูงที่สุดและทนทานที่สุด!!

 คำถามแรกๆที่คนชอบถามเลยคือ ทำไมถึงชื่อไดนามิค ไมโครโฟน??

ชื่อ Dynamic Microphone มีที่มาจากผลการทำงานของมัน ที่เป็น Dynamic Relationship หรือความสัมพันธ์ของความดังที่เท่ากัน (Amplitude) ระหว่าง Input และ Output...งงละสิ พูดง่ายๆว่า ความดังขาเข้า = ความดังขาออก....ได้ไง?....งั้นเรามาทำความรู้จักมันอย่างละเอียดกันเลยดีกว่า


จากที่ได้เขียนไว้ในโพสต์ที่แล้วว่า Dynamic Microphone จัดอยู่ในประเภท Electromagnetic Induction หรือการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า....แล้ว....มันคืออะไรเนี่ย???

Welcome to the Horse's empire.

ทำไมต้องม้า ?


เริ่มจากกลุ่มเพื่อนสมัยม.ปลายที่ตอนนี้แตกกระจายกันไปเรียนต่ออยู่ในหลายๆประเทศทั่วโลก อยู่มาวันหนึ่งไม่รู้เกิดคึกอะไรขึ้นมา เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์และเกร็ดเล็กๆน้อยๆให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆพ่อๆแม่ๆ (เยอะไปละ) ได้อ่านกัน บางอย่างที่อาจจะถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ หรือระบบการทำงานของบางอย่างที่อาจไม่เคยถูกอธิบายอย่างถูกวิธี


What is music ?

อะไรคือดนตรี ?

         ถ้าจะให้คำจำกัดความง่ายๆดนตรีคือแขนงหนึ่งของศิลปะที่ว่าด้วยเสียงทุกเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น
ด้วยความตั้งใจ และด้วยความไม่ตั้งใจ จุดประสงค์ของดนตรีมีอยู่หลายอย่าง เช่น เพื่อความบันเทิง เพื่อสรรเสริญ เพื่อสักการะ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เพื่อยกระดับความคิดและจิตใจ และอีกมากมาย 

         ในอดีตมนุษย์สร้างดนตรีมาเพื่อสรรเสริญ, สักการะพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่เขาเชื่อว่าอยู่เหนือธรรมชาติ และเพื่อขับไล่ความกลัวที่มีต่อความเงียบ โดยดนตรีในยุคนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการเลียนแบบเสียงในธรรมชาติ (ฟ้าผ่า เสียงสัตว์ etc.) 

         ในยุคต่อมาก็เริ่มทำดนตรีเพื่อความบันเทิง มีการใช้เพื่อประกอบการแสดง ใช้เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ดนตรีได้ขยายขอบเขตให้สามัญชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และในที่สุดดนตรีก็ก้าวขึ้นมาสู่การเป็นศิลปะชั้นสูง มีการประสมวงของเครื่องดนตรีหลายๆชนิด เพลงที่แต่งขึ้นไม่ใช่เพียงเพื่อสักการะพระเจ้า แต่เป็นการสื่อเรื่องราวและอารมณ์ต่างๆ จากนักประพันธ์ลงในกระดาษ ต่อมาให้นักดนตรีตีความ และบรรเลงออกมา เพื่อให้ผู้ชมฟังและตีความอีกต่อหนึ่ง

Microphone Ep.1 : Introduction

Introduction to Microphone


บนโลกใบนี้ มี 2 สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเสมอ นั่นคือ พลังงาน (Energy)  และ ข้อมูล (Information) ทุกๆวันในชีวิตประจำวัน เราต้องพบเจอกับพลังงานและข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

         มาเข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่า เสียงที่เราได้ยินนั้นเป็นพลังงาน... ไม่สิ ต้องพูดว่า "เสียงเป็นพลังงาน" แต่ “เสียงที่เราได้ยิน” นั่นคือ “ข้อมูล” 
ถ้าพูดแบบนี้ หมายความว่า มีอะไรบางอย่างที่เป็นสื่อกลางในการก้าวข้ามไปข้ามมาระหว่าง 2 อย่างนี้สิ!?... ใช่ เราเรียกสิ่งนั้นด้วยศัพท์เท่ๆว่า Transducer ซึ่ง Transducer ที่ใกล้ตัวเรา และติดมากับตัวเราตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นคือ “หู” ของเรานั่นเอง


  โมเลกุลในอากาศชนกันไปมา นำพลังงานที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงมาสู่หูเรา เมื่อพลังงาน ผ่านเข้ามาถึง หูชั้นนอก ทำให้เยื่อแก้วหูสั่น (Tympanic Membrane) เปลี่ยนจากพลังงานเสียง​ (Acoustic Energy)  เป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) ส่งไปยังหูชั้นกลางผ่านกระดูกค้อน,ทั่ง,โกลนขยายการสั่นสะเทือน ส่งต่อไปยังหูชั้นใน หูชั้นในเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งไปยังสมอง ให้เรารับรู้ว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นคือเสียงอะไร


เดี๋ยวๆๆ เรากำลังจะพูดถึงไมโครโฟนไม่ใช่เหรอ ?

Sound and Acoustic ep.2


Frequency

จากโพสต์ที่แล้ว ที่พูดไปคร่าวๆ คราวนี้จะลงรายละเอียดมากขึ้นนิดนึงนะครับ
Frequency หรือความถี่ คือจำนวนรอบของคลื่นเสียง (360°) ที่เกิดขึ้น ซึ่งในหนึ่งรอบ ประกอบไปด้วย จุดที่โมเลกุลเริ่มบีบตัว, จุดที่โมเลกุลบีบตัวสูงสุด, จุดที่โมเลกุลเริ่มคลายตัว และจุดที่โมเลกุลคลายตัวมากที่สุด เชื่อไหมว่า กระบวนการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เป็นแสนๆครั้ง ใน 1 วินาที แต่หูของเรา รับรู้ได้แค่ 20-20,000 ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น ทีนี้ มาทวนกันนิดนึงครับ สมมติว่า กดตัว A บนเปียโน ที่มีความถี่ 440Hz หมายความว่า ใน 1 วินาที โมเลกุลจะสั่น ชนกันไปชนกันมา 440 ครั้ง แต่ถามว่า จริงๆแล้ว มันมีแค่นั้นหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะ ความถี่ จริงๆแล้ว แบ่งเป็น 2 ส่วน


Sound and Acoustic ep.1

เสียง คือ อะไร???

    เป็นสิ่งแรกสำหรับคนที่จะเรียนด้าน Audio Engineering ควรรู้ไว้ ถ้าจะจำประโยคสั้นๆ ง่ายๆให้จำว่า  "เสียง คือ การสั่นสะเทือนของโมเลกุลในอากาศ "

    เสียง เป็นพลังงานที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียงใดๆก็ตาม (เช่น เครื่องดนตรี, เสียงของคน) ที่ผ่านตัวกลางต่างๆ (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) ทำให้โมเลกุลของตัวกลางนั้นๆ ส่งพลังงานไปให้อีกโมเลกุลหนึ่ง (โดยการชนกันไปมา) จนกระทั่งเข้ามาถึงหูของเรา ผ่านกระบวนการแปลงจากการสั่นสะเทือน เป็นคลื่นไฟฟ้า ส่งเข้าสมอง สมองจะเป็นตัวตอบสนองต่อเสียงที่เราได้ยิน

นี้เป็นภาพ Animation ของการสั่นสะเทือนของโมเลกุลในอากาศ (ให้สังเกตจุดสีแดงๆ นะครับ)

http://www.acs.psu.edu/drussell/Demos/waves/wavemotion.html

จะเห็นว่าจริงๆแล้วโมเลกุลไม่ได้เดินทางไปไหน แค่ชนกันไปชนกันมา ส่งพลังงานจากโมเลกุลนึงไปอีกโมเลกุลนึงเท่านั้นเอง

อย่าลืมว่า ถ้าไม่มีตัวกลางใดๆ ก็จะไม่มีเสียง เช่นในอวกาศ .... แล้ว Star war คืออะไร ? = =

'Cus We are the "SOUND GUYS" !!!

         “Sound engineer” , “Producer” , “Sound Designer” , ช่างเสียง , คนเล่นเครื่องเสียง (คิดว่าใช้ศัพท์โบราณได้แค่นี้) อาจเป็นอาชีพในฝันของคุณ แต่รู้หรือไม่ ว่า อาชีพนี้ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง ต้องเรียนอะไรบ้าง

จริงๆแล้ว เราเหมือนพวก "ลูกผสม" จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ก็ไม่ใช่ จะเป็นนักดนตรีก็ไม่เชิง เป็นวิศวกรเหรอ? ผมว่า...ก็ไม่ใช่นะ

        Paul Thomas ผู้เป็นอาจารย์ของผม ปัจจุบันสอนที่ RMIT University (เมลเบิร์น,ออสเตรเลีย) บอกว่า “เราไม่ใช่ Sound Engineer หรอก แต่เราคือ "Sound Guys" ต่างหาก! เราไม่สามารถจะอธิบายทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ได้เหมือนนักฟิสิกส์ แต่เราต้องรู้เรื่องพลังงาน เสียง แรงต่างๆพอสมควร เราไม่จำเป็นต้องสร้างและซ่อมได้ทุกอย่าง แต่เราต้องเข้าใจหลักการทำงานของมัน ต้องเข้าใจเรื่องไฟฟ้า เราไม่จำเป็นต้องเล่นดนตรีเก่งระดับโลก แต่เราต้องฟังให้เป็นและรู้ว่าอะไรคือเสียงดีอะไรคือเสียงไม่ดี ที่แน่ๆ พวกเรารู้ว่าต้องวางไมค์ตรงไหนจะได้เสียงดีที่สุด วงดนตรีแนวนี้ จะมิกซ์ยังไงให้ได้เสียงที่ดีที่สุด ที่สำคัญคือเราจัดการกับปัญหาเรื่องเสียงต่างๆได้ ด้วยความรู้เหล่านั้น ” ผมว่ามันฟังเข้าท่ามากเลยนะ เพราะมันเป็นสิ่งที่พวกเราเป็นอยู่หรืออาจเป็นสิ่งที่คุณอาจจะเป็น สรุปง่ายๆว่า พวกเรา “Sound Guys” เป็นลูกผสมระหว่างนักฟิสิกส์ นักทดลอง ช่างไฟฟ้า เซียนคอมพิวเตอร์ นักธุรกิจ นักดนตรีและครีเอเทฟ (+ มนุษย์ป้า) แน่นอนว่า กว่าที่เราจะมีเป็น Sound Guys ได้ จะต้องเรียนรู้มากมายหลายอย่างเลยทีเดียว