Microphone Ep.1 : Introduction

Introduction to Microphone


บนโลกใบนี้ มี 2 สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเสมอ นั่นคือ พลังงาน (Energy)  และ ข้อมูล (Information) ทุกๆวันในชีวิตประจำวัน เราต้องพบเจอกับพลังงานและข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

         มาเข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่า เสียงที่เราได้ยินนั้นเป็นพลังงาน... ไม่สิ ต้องพูดว่า "เสียงเป็นพลังงาน" แต่ “เสียงที่เราได้ยิน” นั่นคือ “ข้อมูล” 
ถ้าพูดแบบนี้ หมายความว่า มีอะไรบางอย่างที่เป็นสื่อกลางในการก้าวข้ามไปข้ามมาระหว่าง 2 อย่างนี้สิ!?... ใช่ เราเรียกสิ่งนั้นด้วยศัพท์เท่ๆว่า Transducer ซึ่ง Transducer ที่ใกล้ตัวเรา และติดมากับตัวเราตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นคือ “หู” ของเรานั่นเอง


  โมเลกุลในอากาศชนกันไปมา นำพลังงานที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงมาสู่หูเรา เมื่อพลังงาน ผ่านเข้ามาถึง หูชั้นนอก ทำให้เยื่อแก้วหูสั่น (Tympanic Membrane) เปลี่ยนจากพลังงานเสียง​ (Acoustic Energy)  เป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) ส่งไปยังหูชั้นกลางผ่านกระดูกค้อน,ทั่ง,โกลนขยายการสั่นสะเทือน ส่งต่อไปยังหูชั้นใน หูชั้นในเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งไปยังสมอง ให้เรารับรู้ว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นคือเสียงอะไร


เดี๋ยวๆๆ เรากำลังจะพูดถึงไมโครโฟนไม่ใช่เหรอ ?

         ที่ต้องร่ายยาวเรื่องหูของเราก็เพราะว่า ไมโครโฟนก็คือ Transducer เช่นกัน เทียบไปเทียบมา ก็คล้ายหูเรานะ ไมโครโฟนคืออุปกรณ์ที่แปลงจากพลังงานเสียงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า” ความหมายของมันก็มีแค่นี้ แต่ถ้าจะให้มีแค่นี้ ทั้งโลกนี้ก็ไม่ต้องมี Sound Engineer หรอกครับ เพราะมนุษย์เรามีความต้องการ....ความต้องการที่จะแปลงจากพลังงานให้กลายเป็นข้อมูลที่สมจริงที่สุด หรือพูดง่ายๆว่า ต้องการบันทึกเสียงที่ดีที่สุด สมจริงที่สุด ไพเราะที่สุด นั่นจึงทำให้เกิดไมโครโฟนชนิดต่างๆ

การจะแบ่งประเภทไมโครโฟน เราสามารถแบ่งได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมที่สุด เป็นมาตรฐานที่สุด ไม่ใช่แบ่งว่า ไมค์สายกับไมค์ลอย!!!! (ฟังดูงี่เง่านะ แต่ผมเคยเจอมากับตัว ผมนี่พูดไม่ออกเลยครับ #ร้องไห้หนักมาก) เราแบ่งประเภทของไมโครโฟนได้ 2 แบบใหญ่ๆ นั่นคือ 
1. แบ่งตามวิธีการทำงาน (Operating Principle)
2. แบ่งตามทิศทางการรับเสียง (Directional Principle)
มาดูแบบแรกกันเลย

Operating Principle

        วิธีการทำงานหรือหลักการทำงานในที่นี้ หมายถึงวิธีการที่ไมโครโฟนใช้ในการแปลงจากพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเราแบ่งจากวิธีการทำงานของมันได้ 2 แบบ คือ

1. Electromagnetic Induction หรือ การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า
2. Electrostatic Induction หรือ Variable Capacitance หรือ การเก็บและคายประจุไฟฟ้า

         แต่ในโลกความเป็นจริง เราแบ่งจากวิธีการทำงานเป็น 3 แบบ โดยอิงจากหลักการทำงานของมัน แต่เพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับ บางสิ่งที่มีความแตกต่างกัน นั่นได้แก่

1. Dynamic Microphone ใช้หลัก Electromagnetic Induction
2. Ribbon Microphone ใช้หลัก Electromagnetic Induction
3. Condensor Microphone ใช้หลัก Electrostatic Induction หรือ Variable of Capacitance 

อ้าว! แล้ว Dynamic กับ Ribbon มันต่างกันยังไงเนี่ย?? อยากรู้ต้องติดตามโพสต์หน้านะครับ :)

ถ้าหากแบ่งตามทิศทางการรับเสียง เราสามารถแบ่งได้ 3 แบบ

Directional Principle

1. Omni Directional รับเสียงรอบทิศทาง
2. Bi-Directional รับเสียง 2 ทาง (หน้า/หลัง)
3. Uni-Directional 
(หรือที่มักจะเรียกกันในชื่อ Cardioid) รับเสียงทางเดียว (ด้านหน้า)

แล้วไม่มี One Direction เหรอ?? (อย่านอกเรื่องสิ -.- ) แต่ถ้าให้พูดตรงๆ Uni ก็คือแปลว่า 1 นั่นแหละ เค้าใช้ Uni เพราะว่ามันดูอลังกว่า One

        พอหอมปากหอมคอแล้วกันนะครับ ก่อนที่จะมึนไปมากกว่านี้ ในครั้งหน้า เราจะเจาะลึกในเรื่องของ Dynamic Microphone กัน เราจะค่อยๆทำความรู้จักกันมันไปเรื่อยๆ จนครบทุกแบบนะครับ และเมื่อคุณคุ้นเคยกับมันแล้ว ผมเชื่อว่าคุณจะสามารถเลือกซื้อ/เลือกใช้ไมโครโฟนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแน่นอน

และเช่นเคยครับ ใครที่มีข้อสงสัย หรือ ความคิดเห็นใดๆ สามารถ Comment มาทางโพสต์นี้ได้เลยครับ

ปล. ขออภัยถ้าหากแปลคำศัพท์เทคนิคบางคำ ผิดแปลกไปจากที่คุณเคยรู้มา เนื่องจากผมเรียนเรื่องเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เลยไม่ทราบว่า Text ของภาษาไทยเขาแปลกันว่าอย่างไร ใครที่รู้ก็สามารถแนะนำกันมาได้นะครับ


ขอบคุณที่ติดตามพวกเรา Horse Power Production ไว้พบกันใหม่นะครับ :)

By Sound Guy

No comments:

Post a Comment